งานประเพณีของจังหวัดนครศรีธรรมราช

งานประเพณีของจังหวัดนครศรีธรรมราช


งานประเพณีสารทเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช



ลูกหลานจัดขึ้น เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาพวกพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและยังถือปฏิบัติในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่า ประเพณีนี้มีคุณค่า เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษนำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติ จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารทเดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาลคาดว่า เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในนครศรีธรรมราชจึงรับประเพณีนี้มาด้วย

ระยะเวลาดำเนินการ   
     วันแรม ๑ ค่ำ ถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ แต่ชาวนครศรีธรรมราช นิยมทำบุญคือ วันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ
สำหรับการจัดงานเดือนสิบจะเริ่มตั้งแต่วันแรม 9 ค่ำ เดือน 10 ถึง วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี รวม 10 วัน 10 คืน
สาระสำคัญ
๑.เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ โดยรำลึกถึงคุณความดีของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
๒.เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกลได้มาพบปะซักถามสารทุกข์สุกดิบต่อกันและได้โอกาสทำบุญร่วมกัน
๓.เป็นการเก็บเสบียงอาหารมีทั้งพืชผักอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูปจัดนำไปถวายในรูปหมรับหรือสำรับ เพื่อที่ทางวัดจะได้เก็บรักษาไว้เป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน
    ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทาง ศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
               ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีขึ้นในวันแรม ค่ำถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะ นิยมทำบุญกันมากคือวันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน
เรื่องของ หฺมฺรับ (หมะหรับ
               เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า วันหลองหฺมฺรับ” แต่ละครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาจัดเป็นหฺมฺรับ (หมะหรับ) สำหรับการจัดหฺมฺรับนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอน จะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ แต่ลำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน คือ เริ่มต้นจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมัง มาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไต้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่ององเชี่ยนหมาก สุดท้ายก็ใส่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหฺมฺรับ คือ ขนม อย่าง ( บางท่านบอกว่า อย่าง ) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม อย่าง ก็จะมีขนมลาลอยมัน ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย 3) การยกหฺมฺรับ ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหมฺรับ ต่างก็จะนำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปวัด โดยแต่ละคนจะแต่งตัวอย่างสะอาดและสวยงาม เพราะถือเป็นการทำบุญครั้งสำคัญ วัดที่ไปมักจะเป็นวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ตนศรัทธา การยกหมฺรับไปวัดอาจต่างครอบครัวต่างไปหรืออาจจัดเป็นขบวนแห่ ทั้งนี้เพื่อต้องการความสนุกสนานรื่นเริงด้วย วัดบางแห่งอาจจะจัดให้มีการประกวดหฺมฺรับในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ได้จัดให้มีขบวนแห่หมฺรับอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาในงานเดือนสิบทุก ๆปี โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนต่างส่งหฺมฺรับของตนเข้าร่วมขบวนแห่และร่วมการประกวด ซึ่งในช่วงเทศกาลนี้สามารถจูงใจนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชมากยิ่งขึ้น
         เมื่อขบวนแห่หฺมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน ตั้งเปรต” เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้หรือบริเวณกำแพงวัด แต่ปัจจุบันนิยมตั้งบน หลาเปรต” โดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง หรือ อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่น ๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน ชิงเปรต” โดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้วยังมีความเชื่อว่า หากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ

ประเพณีลากพระ จังหวัดนครศรีธรรมราช


ช่วงเวลา 
    วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ 
            เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน 
 พิธีกรรม
๑. การแต่งนมพระ
    นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
    พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
๓. การลากพระ
    ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ
สาระ
    ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ


ประเพณีสวดด้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา
     ในวันธรรมสวนะ พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญฟังธรรมกัน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ จึงมีชาวบ้านมาทำบุญกันมากเป็นพิเศษ สถานที่ที่จัดให้มีภิกษุสงฆ์มาเทศนา คือในวิหารคดหรือพระระเบียง ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า ด้าน การเทศน์ของพระภิกษุสงฆ์จะมีด้านละหนึ่งธรรมาสน์เป็นอย่างน้อย
การไปฟังเทศน์ฟังธรรม ชาวบ้านจะต้องเตรียมตัวไปนั่งรอที่พระระเบียงก่อนที่พระสงฆ์จะไปถึง ในขณะที่นั่งรอ บางคนก็พูดคุยสนทนาเรื่องราวต่าง ๆ บางคนก็มีเรื่องราวมาบอกเล่าสู่กันฟัง บางคนนั่งอยู่เฉย ๆทำให้น่าเบื่อ ในที่สุดจึงเกิดความคิดเห็นพ้องกันว่าควรหาหนังสือมาสวดจนกว่าพระจะมาเทศน์ เพื่อจะได้ฟังกัน ได้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้เป็นคติสอนใจ จึงเกิดประเพณีสวดด้านขึ้น

ระยะเวลาดำเนินการ

     การสวดด้านจะมีเฉพาะในวันพระหรือในวันธรรมสวนะ(ขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ) เวลาก่อนเพล ก่อนพระสงฆ์จะขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรมเทศนาให้พุทธศานิกชนฟังที่ระเบียงทั้งสี่ด้านในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

 สาระสำคัญ

๑.ผู้ฟัง ได้ฟังสาระจากการสวดหรือการอ่านหนังสือ ได้ทั้งความรู้คติสอนใจ และความเพลินเพลิด ส่วนผู้สวดได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือนับเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดที่ช่วยให้คนรักการอ่านหนังสือและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการฟังแก่เด็กนักเรียนได้
๒.ได้ทราบข่าวความเป็นไปของบ้านเมือง เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของจิตใจ
๓.เกิดความรักความสามัคคีหมู่คณะที่ไปทำบุญวัดเดียวกันสร้างแบบอย่างให้แก่ลูกหลาน
๔.เป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมของชาวนครศรีธรรมราชในฐานะปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งทางด้านภาษาและวรรณกรรมมาเป็นเวลายาวนานสมควรแก่การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวรรณกรรมท้องถิ่นไว้เป็นมรดกของท้องถิ่นที่มีคุณค่ายิ่ง

    ประเพณีสวดด้าน การสวดหนังสือ มีความหมายถึงการอ่านหนังสือร้อยกรองโดยใช้สำเนียงภาษาพื้นเมือง อ่านออกเสียงเป็นทำนองตามบทร้อยกรอง ด้าน หมายถึง ด้านต่าง ๆ รอบของพระวิหารคด หรือพระระเบียงรอบพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งมี 4 ด้าน
    พระด้าน หมายถึง พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารคดทั้งสี่ด้านมีจำนวนทั้งหมด 173 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้เรียกว่า พระด้าน

    สวดด้าน หมายถึง การสวดหนังสือที่ระเบียงด้านต่าง ๆ ทั้งในวิหารคดและวิหารทับเกษตร ในส่วนที่ประดิษฐานธรรมาสน์สำหรับพระภิกษุสงฆ์นั่งเทศนาวันธรรมสวนะ แต่ตามนิสัยของชาวนครศรีธรรมราชชอบพูดคำสั้น ๆ จึงตัดคำออกเหลือเพียงสวดด้าน สวดด้านจึงเป็นประเพณีการอ่านหนังสือร้อยกรองประเภทนิทานนิยายของชาวนครศรีธรรมราช

    ประวัติความเป็นมา ในวันธรรมสวนะ พุทธศาสนิกชนจะมักทำบุญฟังธรรมกัน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ จึงมีชาวบ้านมาทำบุญกันมากเป็นพิเศษ สถานที่ที่จัดให้ภิกษุสงฆ์มาเทศนา คือ ในวิหารคดหรือพระระเบียง ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า ด้าน” การเทศน์ของพระภิกษุสงฆ์จะมีด้านละหนึ่งธรรมาสน์เป็นอย่างน้อย

    การไปฟังเทศน์ฟังธรรมชาวบ้านจะต้องเตรียมตัวไปนั่งรอที่พระระเบียงก่อนที่พระสงฆ์จะไปถึง ในขณะที่นั่งรอบางคนก็พูดคุยสนทนาเรื่องราวต่าง ๆ บางคนก็มีเรื่องราวมาบอกเล่าสู่กันฟัง บางคนนั่งอยู่เฉย ๆ ทำให้น่าเบื่อ ในที่สุดจึงเกิดความคิดเห็นพ้องกันว่าควรจะหาหนังสือมาสวดจนกว่าพระจะมาเทศน์ เพื่อจะได้ฟังกันได้ทั้งความเพลิดเพลิน และความรู้เป็นคติสอนใจ จึงเกิดประเพณีสวดด้านขึ้น

    ระยะเวลา การสวดด้านจะมีเฉพาะในวันพระหรือวันธรรมสวนะ
(ขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ และขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) เวลาก่อนเพล ก่อนพระสงฆ์จะขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรมเทศนาให้พุทธศาสนิกชนฟังที่พระระเบียงทั้ง 4 ด้านในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

การเตรียมการ

    ลักษณะของผู้สวดด้าน ผู้สวดจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอ่านออกเสียงอย่างยิ่ง ใช้ทำนองและสำเนียงภาษาถิ่นใต้โดยจะต้องรู้จักเน้นเสียงเอื้อนและเล่นลูกคอ เล่นท่าทางประกอบในตอนที่จำเป็น ใช้สีหน้าโยกตัวประกอบท่าทาง และต้องใช้กิริยาอื่น ๆ ตามที่ผู้สวดสามารถทำได้ ผู้สวดด้านมักจะมาจากบุคคลทีมีอาชีพต่าง ๆ หรือบุคคลที่เคยเป็นชาววัดมาก่อน เคยอ่านทำนองที่ฝึกฝนมาจากวัด เช่น นักเทศน์เก่า นักแหล่หมอทำขวัญนาค นักสวดมาลัย นายหนังตะลุง โนราเก่า เพลงบอก เป็นต้น คนสวดที่สวดได้ไพเราะ ผู้ฟังจะชื่นชมติดอกติดใจมาก ถึงขนาดคนเฒ่าคนแก่ที่ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออกเมื่อฟังสวดด้านแล้วสามารถจำบทกลอนในหนังสือเล่มที่ฟังนั้นได้ทุกบททุกตอนแทบตลอดทั้งเล่ม และจำได้หลาย ๆ เล่ม ดังนั้นคนสวดด้านเมื่อสวดเสร็จแล้วมักจะได้รับเงินรางวัลและได้รับการเลี้ยงดูทุกครั้งไป
    การสวดด้านจะสวดทั้ง 4 ด้านของพระระเบียง ดังนั้นคนสวดด้านจะต้องพยายามแสดงความสามารถในการสวดมาก เพราะหากสวดไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้ฟังจะทำให้คนเบื่อหน่าย ดังนั้นคนสวดแต่ละคนจึงต้องแสดงความสามารถในเชิงสวดให้ปรากฏด้วย
    ลักษณะหนังสือที่ใช้สวดด้าน หนังสือที่เป็นที่นิยมของคนฟังส่วนใหญ่ มักเป็นหนังสือนิทานชาดกที่เขียนเป็นร้อยกรอง และหนังสือนิทานพื้นเมืองเรื่องต่าง ๆ ที่กวีพื้นเมืองแต่งขึ้น เรื่องที่เป็นที่นิยมได้แก่ เรื่องสุบิน วันคาร ทินวงศ์ สี่เสาร์ กระต่ายทอง พระรถเสนของนายเรืองนาใน และเรื่องเสือโคของพระมี
    สมัยก่อนหนังสือนิทานชาดกและนิทานพื้นบ้านที่ใช้สวดด้านจะเขียนขึ้นเรียกว่า หนังสือบุด” สมัยต่อมาไม่ได้สวดหนังสือบุด แต่กลับนิยมสวดหนังสือซึ่งพิมพ์โดยโรงพิมพ์ราษฎร์เจริญวัดเกาะ โดยคนสวดเช่ามาจากบ้านนายปลอด ซึ่งอยู่หลังวัดพระมหาธาตุ ในราคาเช่า 4 เล่ม 5 สตางค์ เรื่องที่นิยมสวด ได้แก่ รามเกียรติ์ พระอภัยมณี สุวรรณศิลป์ และสังข์ทอง หนังสือเรื่องสุบิน แต่งโดยกวีชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมสูงสุดของผู้ฟังการสวดด้าน และใช้เป็นหนังสือเรียนในนครศรีธรรมราชในสมัยก่อน

    พิธีกรรม พิธีกรรมเริ่มขึ้นเมื่อพุทธศาสนิกชนนำปิ่นโตบรรจุอาหารคาวหวานและดอกไม้ธูปเทียนมานั่งรอเพื่อถวายพระสงฆ์และฟังเทศน์ ขณะนั่งรอ คนสวดด้านจะนำหนังสือร้อยกรอง นิทานชาดกที่เตรียมมาสวดให้ผู้ฟังได้ฟังและหยุดสวดด้านเมื่อพระสงฆ์เข้ามาในพระระเบียง ผู้สวดด้านและผู้ฟังจึงร่วมกันทำบุญในวันธรรมสวนะ

    ประเพณีสวดด้านปัจจุบันสูญหายไปตามความเจริญในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ก็ยังคงมีการเทศนาของพระสงฆ์อยู่ แต่มักจะแบ่งการเทศน์ออกเป็นวัดละด้าน ต่อมาพระที่มาเทศน์น้อยลงเรื่อย ๆ ในปัจจุบันจะมีพระเทศน์ในพระด้านอยู่เพียงธรรมมาสน์เดียว

    ศาสนาเป็นบ่อเกิดความเชื่อ ความปลูกศรัทธาแก่ศาสนิกชน ให้จดจำยึดมั่นที่ฝังอยู่ไม่เสื่อมคลาย ความศรัทธาเชื่อมั่นเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดแนวปฏิบัติทั้งหลาย ประพฤติปฏิบัติสืบต่อมาจนเป็นประเพณี ความศรัทธาพระพุทธศาสนาของชาวนครศรีธรรมราช จะเห็นได้จากการปฏิบัติกิจกรรมในประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ประเพณีลากพระและประเพณีสวดด้านดังกล่าวแล้ว

    ความสำคัญของการเกิดประเพณี การไปฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่ออบรมให้จิตใจผ่องใสเบิกบานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เกิดความสงบสุข มีความคิดดีงามเกิดขึ้น ประเพณีการสวดด้านจึงมีที่มาจากการฟังเทศน์ฟังธรรมดังกล่าว ให้ความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ ดังนี้

    ผู้ฟัง ได้ฟังสาระจากการสวดหรืออ่านหนังสือ ได้ทั้งความรู้คติสอนใจ และความเพลิดเพลิน ส่วนผู้สวดได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือ นับเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาด ที่ช่วยให้คนรักการอ่านหนังสือและรู้จัดใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการฟังแก่เด็กนักเรียนได้ ได้ทราบข่าวความเป็นไปของบ้านเมือง เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของจิตใจ ชาวบ้านทุกคนจะเข้าวัดไปทำบุญ ได้สนทนาเล่าเรื่องที่ตนประสบให้เพื่อนฟัง การรับรู้เหตุการณ์ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะที่ไปทำบุญวัดเดียวกัน สร้างแบบอย่างให้แก่ลูกหลาน และมักจะนำเรื่องที่ตนได้ยินได้ฟังมาบอกเล่าแก่คนที่อยู่ที่บ้าน เช่น การฟังสวดด้านได้คติสอนใจจากนิทานที่ได้ฟังได้ยินมา ก็นำมาเล่าให้ลูกหลานฟังด้วย ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว ประเพณีสวดด้านจึงมีประโยชน์เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก่การฟื้นฟูให้มีประเพณีการสวดด้านต่อไปเป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมของชาวนครศรีธรรมราชในฐานะปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งทางด้านภาษาและวรรณกรรมมาเป็นเวลายาวนานสมควรแก่การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวรรณกรรมท้องถิ่นไว้เป็นมรดกของท้องถิ่นที่มีคุณค่ายิ่ง

ประเพณีอาบน้ำคนแก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช


ความเป็นมา
    อาบน้ำคนแก่เป็นประเพณีเกี่ยวเนื่องมาจากประเพณีสงกรานต์ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าในวันที่ ๑๔ เมษายน เทวดาที่เฝ้ารักษาเมืองทั้งหลายจะพากันขึ้นไป
เมืองสวรรค์กันหมดทั้งเมืองจึงปราศจากเทวดา วันนี้จึงเรียกว่า วันว่าง ?คือเป็นวันที่ทุกสิ่งทุกอย่างว่างเทวดาคุ้มครองชาวบ้านจะหยุดทำกิจการงานทุกอย่าง     
เก็บสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆหมดครกและสากตำข้าวก็จะแช่เอาไว้สามวัน
ในวันว่าง
    ชาวบ้านจะนำภัตตาหารและเครื่องนมัสการต่าง ๆไปทำบุญที่วัดใกล้บ้านเสร็จแล้วจึงไปสักการะและสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ที่สนามหน้าเมืองและนิยมรองรับน้ำ
 จากการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์เพื่อนำไปไว้ใช้ในงานมงคลที่บ้านของตนอีกด้วย
       เมื่อสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์เสร็จแล้วชาวนครศรีธรรมราชจะนำอาหาร เครื่องนุ่งห่มเครื่องใช้ไปให้ญาติคนแก่ที่ตนเคารพนับถือแล้วขออาบน้ำให้ท่านด้วย
เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
 ระยะเวลาดำเนินการ
    ประเพณีอาบน้ำคนแก่ อยู่ในช่วงระยะเวลาของวันที่๑๓ - ๑๕ เดือนห้า(เมษายน) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกเอาวันไหนก็ได้
 สาระสำคัญ
๑.การอาบน้ำคนแก่เป็นประเพณีที่มีบทบาทในการควบคุมคนในสังคมให้วางตนให้เหมาะสมตามฐานะของตน
คือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเพื่อให้คนเคารพนับถือ
เมื่อเป็นผู้น้อยก็ต้องแสดงความเคารพและมีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ
๒.เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
อันได้แก่ คนแก่ในตระกูล บิดา มารดา ตลอดจนผู้ที่ตนเคารพนับถือทั้งหลาย
๓.เป็นการพบปะกันในระหว่างญาติพี่น้อง
ซึ่งก่อให้เกิดความผูกพันกันในวงศาคณาญาติ
สร้างความสนิทสนมกลมเกลียวรักใคร่กันในตระกูลยิ่งขึ้น
๔.สร้างความอบอุ่นปลาบปลื้มใจให้กับคนแก่ของตระกูล
ที่ได้เห็นความเป็นปึกแผ่นของลูกหลาน
๕.ทำให้เกิดความสุขความอิ่มเอิบใจ
ให้กับผู้ที่ได้ร่วมพิธีทำบุญตามประเพณีอาบน้ำคนแก่

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช



ความเป็นมา

     ในสมัยที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นกษัตริย์ครองตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) อยู่นั้น ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๑๗๗๓ ขณะที่เตรียมสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ชาวปากพนังมากราบทูลว่า คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบยาวผืนหนึ่งซึ่งมีภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติมาขึ้นที่ชายหาดปากพนัง ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์รับสั่งให้ซักผ้านั้นจนสะอาดเห็นภาพวาดพุทธประวัติ เรียกว่า ?ผ้าพระบฏจึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธจากหงสากลุ่มหนึ่ง จะนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาทที่ลังกา แต่ถูกพายุพัดพามาขึ้นชายฝั่งปากพนัง เหลือผู้รอดชีวิตสิบคนพระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงมีความเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ แม้จะไม่ใช่พระพุทธบาทตามที่ตั้งใจ แต่ก็เป็นพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเจ้าของผ้าพระบฏก็ยินดี การแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีขึ้นตั้งแต่ปีนั้นและดำเนินการสืบต่อมา จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

ระยะเวลาดำเนินการ

     แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละสองครั้ง ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม (วันมาฆบูชา) และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก (วันวิสาขบูชา) โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบันนิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม (วันมาฆบูชา) มากกว่า

สาระสำคัญ

๑. แสดงให้เห็นลักษณะสังคมของนครศรีธรรมราช ที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาการทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชาเพื่อประสงค์ให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า
๒. แสดงให้เห็นว่าองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์รวมความศรัทธา พุทธศาสนิกชนทั่วไปทุกทิศจึงประสงค์มาห่มผ้าพระธาตุอย่างพร้อมเพรียงกัน


    ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาว ไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำขึ้นห่มโอบล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน

    ความเชื่อ นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา จึงรับความเชื่อของชาวอินเดียและลังกาเข้ามาด้วย ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุดแม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วแต่ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์อยู่ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันมาว่า การนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชจากทุกที่จึงมุ่งหมายมาสักการะเมื่อถึงวันดังกล่าว

พิธีกรรม

    การเตรียมผ้าพระบฏ ผ้าที่นำขึ้นแห่องค์พระธาตุเจดีย์ มักจะนิยมใช้สีขาว เหลือง และแดง พุทธศานิกชนคนใดต้องการห่มผ้าพระธาตุ จะตระเตรียมผ้าขนาดความยาว ตามความศรัทธาของตน เมื่อไปถึงวัดจะนำผ้ามาผูกต่อกันเป็นขนาดยาวที่สามารถห่มพระบรมธาตุรอบองค์ได้ หากใครต้องการทำบุญร่วมด้วยก็จะบริจาคเงินสมทบในขบวนผ้าพระบฏนี้ก็ได้ บางคนประดิษฐ์ตกแต่งชายขอบผ้าประดับด้วยริบบิ้น พู่ห้อยแพรพรรณ ลวดลายดอกไม้สวยงามแต่ผ้าห่มพระบรมธาตุเจดีย์ผืนพิเศษ จะเขียนภาพพุทธประวัติทั้งผืนยาว โดยช่างผู้ชำนาญเขียนภาพแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมานะพยายามในการทำผ้าพระบฏขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ แต่ในปัจจุบัน ผ้าพระบฏซึ่งมีสีขาว สีแดง สีเหลือง ส่วนใหญ่เป็นผ้ายาวเรียบ ๆ ธรรมดา ผ้าพระบฏสีขาว เหลือง แดง

    การจัดขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมื่อถึงวันแห่ผ้าขึ้นธาตุ มีการจัดอาหารคาวหวาน เครื่องอุปโภคและบริโภคไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร โดยการหาบคอนกันไปเป็นขบวนแห่ที่สวยงามพร้อมนำผ้าพระบฏไปวัดด้วย ผ้าพระบฏเขียนภาพพุทธประวัติ

    สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมายังนครศรีธรรมราช ได้มีการจัดแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาและจัดให้มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ชาวบ้านได้นำผ้าที่เตรียมมาแห่งห่มพระบรมธาตุเจดีย์ด้วย

    ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบปฏิบัติไปจากเดิมบ้าง โดยได้ยกเลิกการนำภัตตาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคที่นำไปทำบุญถวายพระ การประดับตกแต่งผ้าพระบฏก็ลดหรือตัดไปยังมีก็เฉพาะแต่ผ้าพระบฏของบางหน่วยงาน เช่น สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เป็นต้น

    เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนัดหมายโดยพร้อมเพรียงกันเป็นขบวนใหญ่ แต่ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้น ผู้คนที่ศรัทธาก็มาจากหลายทิศทาง ต่างคนต่างคณะ ต่างจึงเตรียมผ้ามาห่มพระธาตุ ใครจะตั้งขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็สุดแต่ความสะดวก ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีตลอดทั้งวันโดยไม่ขาดสาย เดิมขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุทุกขบวน นิยมใช้ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าขบวน ได้แก่ ดนตรีหนังตะลุง ดนตรีโนรา แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกลองยาวบรรเลงจังหวะที่ครึกครื้น เพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจะเดินเป็นแถวเรียงเป็นริ้วยาวไปตามความยาวของผืนผ้า ทุกคนชู (เทิน) ผ้าพระบฏไว้เหนือศีรษะ ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่าผ้าพระบฏเป็นเครื่องสักการะพระพุทธเจ้าจึงควรถือไว้ในระดับสูงกว่าศีรษะ การถวายผ้าพระบฏ เมื่อแห่ถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วจะทำพิธีถวายผ้าพระบฏ โดยมีหัวหน้าคณะกล่าวนำด้วยภาษาบาลีแล้วตามด้วยคำแปลซึ่งมีใจความว่า ข้าแต่พระผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าห่มพระธาตุนี้แก่พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชา ข้าพเจ้าทั้งหลายขอกราบไหว้ซึ่งเจดีย์ทั้งหลายในสถานที่นี้ ขออานิสงส์แห่งบุญกุศล ของข้าพเจ้าทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าและญาติมิตรทั้งหลายเพื่อความสุขความเจริญตลอดกาลนานเทอญ” การนำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์ หลังจากกล่าวคำถวายผ้าพระบฏเรียบร้อยแล้ว จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วน้ำผ้าสู่วิหารพระทรงม้า เมื่อถึงตอนนี้ผู้ที่ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทนเพียงสามหรือสี่คนสมทบกับเจ้าหน้าที่ของวัดนำผ้าพระบฏขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ไม่สามารถขึ้นไปรอบกำแพงแก้วได้หมดทั้งขบวน เพราะลานภายในกำแพงแก้วคับแคบและเป็นเขตหวงห้าม และเชื่อว่าที่ฐานพระบรมเจดีย์ มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ หากเดินบนลานกำแพงแก้วเป็นการไม่เคารพพระพุทธองค์ นำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์ ความสำคัญของการเกิดประเพณี พุทธศาสนิกชนมีจิตใจที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตปีหนึ่งจะต้องมาห่มผ้าพระธาตุครั้งหนึ่งไม่ให้ขาด ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีความสำคัญดังนี้ แสดงให้เห็นถึงลักษณะสังคมของนครศรีธรรมราช ที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชา เพื่อประสงค์ให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่าพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธา พุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศจึงประสงค์ห่มผ้าพระบรมธาตุเจดีย์อย่างพร้อมเพรียงกัน

สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.nakhonsithammarat.go.th/prapanee.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น